มาเลี้ยงหนูแฮมส์เตอร์กันจ้า^^

วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์



หมวดที่หนึ่ง ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
สำหรับบทบัญญัติในหมวดที่หนึ่ง มีทั้งสิ้น 11 มาตรา กล่าวคือตั้งแต่ร่างมาตรา 5 ถึงร่างมาตรา 15 ทั้งนี้ โดยตั้งแต่มาตรา 5 ถึงมาตรา 12 นั้น จะเป็นร่างบทบัญญัติที่กำหนดลักษณะการกระทำความผิดซึ่งกระทบโดยตรงต่อการรักษาความลับ(Confidentiality) , ความครบถ้วน (Integrity) , และสภาพพร้อมใช้งาน (Availability) ของระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลคอมพิวเตอร์ สำหรับการกระทำความผิดที่กระทบต่อการรักษาความลับ เช่น การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นซึ่งมีมาตรการป้องกันการเข้าถึงเอาไว้ (ร่างมาตรา 5) , การล่วงรู้มาตรการการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ (ตัวอย่างคือ การล่วงรู้รหัสผ่าน (Password) หรือรหัสลับ (secret code) เป็นต้น) (ร่างมาตรา 6) , การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น (ร่างมาตรา 7), หรือการดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ (ร่างมาตรา 8)
ส่วนการกระทำความผิดที่กระทบต่อความครบถ้วนของระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น ความครบถ้วนในที่นี้ หากกล่าวให้เข้าใจโดยง่ายหมายความว่า ในกรณีที่มีการป้อนหรือพิมพ์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ไว้เช่นใด โดยทั่วไปหากจะเรียกข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมาอ่าน เรียกดู หรือใช้ข้อมูลดังกล่าวอีกครั้ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อยู่หรือเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์นั้น ก็ควรจะแสดงบนจอคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลหรือข้อความที่ครบถ้วนเหมือนที่พิมพ์หรือป้อนไว้แต่เดิม ตัวอย่างการกระทำความผิดในลักษณะนี้ เช่น การรบกวนการทำงานของข้อมูลคอมพิวเตอร์ด้วยการทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์ (ร่างมาตรา9) เป็นต้น
ส่วนการกระทำความผิดที่กระทบต่อสภาพพร้อมใช้งานตามปกติของระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น การกระทำความผิดด้วยการป้อนชุดคำสั่งหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่พึงประสงค์ อาทิ “ไวรัส” ในคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานผิดเพี้ยนไปจากเดิมหรือไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ (ร่างมาตรา 10)
อย่างไรก็ตามในการกระทำความผิดอันเป็นการรบกวนระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ให้ทำงานหรือแสดงผลต่างไปจากเดิมหรือไม่เป็นไปตามปกตินั้น ร่างพระราชบัญญัติก็ได้มีการกำหนดโทษหนักขึ้นในกรณีที่มีเหตุฉกรรจ์ไว้ด้วย กล่าวคือ หากกระทำความผิดก่อให้เกิดผลอันเป็นความเสียหายแก่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือกระทบต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การบริการสาธารณะ หรือการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือชีวิตของประชาชน ผู้กระทำผิดดังกล่าวก็ต้องรับโทษหนักขึ้น (ร่างมาตรา 11)
นอกจากนั้น ยังได้มีการกำหนดฐานความผิดสำหรับการจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดที่กล่าวมาข้างต้น เช่น การจงใจหรือเจตนาเผยแพร่ไวรัสที่ใช้ในการก่อให้เกิดความเสียหายหรือทำลายข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือชุดคำสั่งที่เรียกว่า spyware เพื่อไว้ใช้โจรกรรมความลับทางการค้า เป็นต้น (ร่างมาตรา 12)
ส่วนร่างพระราชบัญญัติตั้งแต่ร่างมาตรา 13 ถึงร่างมาตรา 15 นั้น จะเป็นลักษณะการกระทำความผิดที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบเพื่อกระทำความผิดในลักษณะต่างๆ เช่นการปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ , การเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จซึ่งก่อให้เกิดความตื่นตระหนกกับประชาชน , การเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันมีลักษณะลามก , การกระทำความผิดของผู้ให้บริการที่มิได้ลบข้อมูลคอมพิวเตอร์อันไม่เหมาะสม , และการตัดต่อภาพอันทำให้บุคคลอื่นเสียหาย เป็นต้น
หมวดที่สองพนักงานเจ้าหน้าที่
ร่างพระราชบัญญัติในส่วนนี้มี 13 มาตรา ตั้งแต่ร่างมาตรา 16 ถึงร่างมาตรา 28 โดยได้มีการกำหนดอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
คุณสมบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่
ร่างพระราชบัญญัติก็ได้กำหนดไว้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เหล่านั้นต้องมีคุณสมบัติพิเศษ กล่าวคือ มีความรู้ความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์และผ่านหลักสูตรอบรมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนด (ร่างมาตรา 26) เพื่อให้มีอำนาจตามที่ร่างกฎหมายกำหนด
อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่
ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัย พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เท่าที่จำเป็น, ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์จากระบบคอมพิวเตอร์ที่ต้องสงสัย , ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ , ถอดรหัสข้อมูลคอมพิวเตอร์ , เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ และยึดถือหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์ (ร่างมาตรา 16)
อย่างไรก็ตามการใช้อำนาจข้างต้น จะต้องกระทำเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดตามร่างพระราชบัญญัติเท่านั้น (ร่างมาตรา 18) เช่นการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ (ร่างมาตรา16(2)) นั้น ก็ทำได้เฉพาะที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิดโดยกระทำความผิดโดยการรบกวนรูปแบบหนึ่งรูปแบบใดกับข้อมูลคอมพิวเตอร์ (ร่างมาตรา9) ก็ต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์เกินความจำเป็น (ร่างมาตรา 18 วรรคสอง)
การตรวจสอบการใช้อำนาจ
ในการยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์ที่ต้องสงสัยต้องมีหนังสือยึดหรืออายัดซึ่งทำตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงไปแสดง และจะยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์ได้ไม่เกิน 30 วัน หากเกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ต้องไปยื่นคำร้องขอต่อศาลอาญาเพื่อขอขยายเวลาดังกล่าว โดยศาลจะอนุญาตได้ไม่เกิน 60 วัน
อย่างไรก็ตาม ในการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานในการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิด (ร่างมาตรา 16(3)) และการเรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์อันเป็นบันทึกการเข้าออกจากระบบของผู้ใช้บริการที่ผู้ให้บริการเก็บรักษาไว้อันเป็นหลักฐานสำคัญในการหาตัวผู้กระทำความผิด ซึ่งไม่ให้รวมถึงเนื้อหาของข้อมูลที่บุคคลติดต่อกัน (ร่างมาตรา 16 (5)) พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลในการดำเนินการ รายงานต่อศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจหรือศาลอาญาภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ ทั้งนี้ โดยศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะสั่งระงับการดำเนินการดังกล่าวได้ หากเห็นว่าเกินความจำเป็น (ร่างมาตรา 18 วรรคสาม)
อำนาจสั่งการเกี่ยวกับชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ (โปรแกรมชั่วร้าย)
เนื่องจากในปัจจุบันได้มีการพัฒนาชุดคำสั่งหรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์มากมาย เช่น ไวรัส (virus) , เวิร์ม (worm), สปายแวร์ (spyware) , และมัลแวร์ (malware) อื่นๆ เป็นต้น ซึ่งชุดคำสั่งดังกล่าวจะมีการพัฒนาการที่มีการใช้งานซับซ้อนมาขึ้นตามพัฒนาการทางเทคโนโลยี ในขณะเดียวกันก็อาจนำไปใช้ทั้งในทางที่เป็นคุณและโทษอนันต์ด้วยเช่นกัน ซึ่งหากมีการนำไปใช้ในทางมิชอบอันก่อให้เกิดโทษ การจัดการกับปัญหาดังกล่าวก็จะยากมากยิ่งขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ ร่างพระราชบัญญัติจึงได้ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ รวมทั้งสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีชุดคำสั่งพึงประสงค์รวมอยู่ด้วยนั้นได้ หรืออาจกำหนดเงื่อนไขการใช้ มีไว้ครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งดังกล่าวด้วยก็ได้
อย่างไรก็ตาม ชุดคำสั่งพึงประสงค์นั้น ได้มีการพัฒนาให้สามารถนำไปใช้งานให้มีประสิทธิผล (พิษสง) ร่ายแรงขึ้น และบ่อยครั้งก็อาจเป็นการยากต่อการพัฒนาชุดคำสั่งที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้งานในเชิงสร้างสรรค์เพื่อต่อต้านหรือใช้ในการแก้ไขปัญหาเช่นว่านั้น ดังนั้น ร่างพระราชบัญญัติจึงได้เปิดกว้างให้มีการกำหนดว่าชุดคำสั่งใดบ้างที่มีลักษณะที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการให้ดำเนินการใดๆ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้นได้ แต่ในขณะเดียวกัน เนื่่่องจากชุดคำสั่งเหล่านั้น ก็อาจมีการนำไปใช้ในลักษณะที่เป็นคุณได้เช่นกัน ดังนั้น จึงได้มีการกำหนดข้อยกเว้นเอาไว้ด้วยเช่นกันว่า การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสั่งการกับชุดคำสั่งพึงประสงค์หรือชั่วร้ายนั้นมิให้รวมถึงชุดคำสั่งที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อมุ่งประสงค์ให้นำไปใช้ในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งชั่งร้ายดังกล่าว โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีอำนาจในการประกาศว่า ชุดคำสั่งใดบ้างเป็นชุดคำสั่งที่ชั่วร้ายไว้ในกฎกระทรวง (ร่างมาตรา 19)
การควบคุมการใช้อำนาจและข้อห้ามมิให้เปิดเผยพยานหลักฐานที่ได้
่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายฉบับนี้ จะมีคุณสมบัติพิเศษและมีความสามารถที่มากกว่าพนักงานทั่วๆ ไป ในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลคอมพิวเตอร์ ในการเข้าใจกลไกและรูปแบบการกระทำความผิด และร่างพระราชบัญญัติก็ได้ให้อำนาจสำคัญกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อหาตัวผู้กระทำความผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (ร่างมาตรา 16(3)) อันอาจกระทบต่อความเป็นส่วนตัว ความลับในการติดต่อสื่อสาร หรือความลับทางการค้า อันเป็นสิทธิพึงมีของประชาชนได้โดยง่าย จึงจำเป็นต้องตรวจสอบการใช้อำนาจดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น และในขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องควบคุมการใช้อำนาจด้วย เพราะการมีอำนาจกระทำการใดๆ ก็ตามที่กำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติอาจเป็นที่มาของการอาศัยฝีมือของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติ ในการสืบสวนหรือรวบรวมพยานหลักฐานสำหรับการกระทำความผิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิดอื่นๆ นอกเหนือจากการกระทำความผิดที่กำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติ และเพื่อป้องกันมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจในทางมิชอบในประการอื่น
ดังนั้น ร่างพระราชบัญญัติจึงได้กำหนดห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ให้บริการที่ได้มาให้กับบุคคลใด (ร่างมาตรา 20 วรรคหนึ่ง) เว้นแต่เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีตามร่างพระราชบัญญัติ, การใช้อำนาจในทางมิชอบของพนักงานเจ้าหน้าที่, และการกระทำตามคำสั่งศาลในการพิจารณาคดี (ร่างมาตรา 20 วรรคสอง)
อย่างไรก็ตาม แม้มีกฎหมายอื่นให้อำนาจในการเรียกพยานหลักฐานหรือข้อมูลใดๆ ซึ่งมิใช่ข้อยกเว้นที่กล่าวไว้ในร่างมาตรา 20 วรรคสอง ร่างพระราชบัญญัตินี้ก็ห้ามมิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับ ด้วยร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ หากมีการใช้บังคับก็ถือเป็นกฎหมายพิเศษยิ่งกว่ากฎหมายอื่นใด (ร่างมาตรา 20 วรรคสาม) ทั้งนี้ โดยได้กำหนดโทษในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติข้างต้นเอาไว้ด้วย รวมถึงกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของร่างกฎหมายโดยประมาท (ร่างมาตรา 20 วรรคสี่ และร่างมาตรา 21 ตามลำดับ) นอกจากนั้น ก็ได้กำหนดระวางโทษสำหรับบุคคลซึงล่วงรู้ข้อมูลหรือพยานหลักฐานที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาและเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อบุคคลที่สามเอาไว้ด้วย (ร่างมาตรา 22) และก็ได้บัญญัติให้รับกันโดยกำหนดให้พยานหลักฐานที่ได้มาโดยฝ่าฝืนต่อหลักการควบคุมการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งกล่าวไว้ข้างต้น โดยมิให้รับฟังพยานหลักฐานเหล่านั้น ในการดำเนินการใดๆ อันเป็นโทษแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูล (ร่างมาตรา 23)
หน้าที่ของผู้ให้บริการในการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
เนื่องจากข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์เป็นพยานหลักฐานสำคัญในการหาตัวผู้กระทำความผิด ร่างพระราชบัญญัติจึงได้กำหนดให้ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่า 30 วัน และในกรณีที่จำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ก็อาจสั่งให้ผู้ให้บริการเก็บข้อมูลดังกล่าวไว้เกิน 30 วัน แต่ไม่เกิน 90 วันก็ได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้กฎหมายที่จะใช้บังคับมีความยืดหยุุ่่น ทันสมัย และสอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ร่างพระราชบัญญัติจึงได้กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กำหนดว่าผู้ให้บริการที่มีหน้าที่ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ข้างต้น ได้แก่ผู้ให้บริการประเภทใดและจะกำหนดให้ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เมื่อใด ให้เป็นไปตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติก็ได้กำหนดว่า หากผู้ให้บริการใดไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ซึ่งกำหนดไว้ ก็ต้องระวางโทษที่กำหนดไว้ อีกทั้งยังได้กำหนดว่า หากผู้ใดขีดขวางการปฏิบัติหน้าที่ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ อันรวมถึงอำนาจสั่งการเกี่ยวกับชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ (โปรแกรมชั่วร้าย) (ร่างมาตรา 16 และร่างมาตรา 19 ตามลำดับ) ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งปรับทางปกครอง (ร่างมาตรา 25)
การทำงานร่วมกันระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่ และพนักงานสอบสวน
ในร่างพระราชบัญญัติได้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีร่วมกับรัฐมนตรีรักษาการ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการดำเนินการในการจับ ควบคุม ค้น และสอบสวน (ร่างมาตรา 28)
จัดทำโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมทพิวเตอร์แห่งชาติ

สามารถโหลดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

55+

Resume_pang




Resume


ชื่อ: นางสาวเบญจวรรณ อินทระ
ชื่ออังกฤษ: MissBenjawan Intara
วันเกิด: 13 พฤษภาคม 2532
13 May 1989
ที่อยู่: 19/1 ซอย 5 ถนนเทศบาล16 ตำบล ปากช่อง อำเภอ ปากช่อง
จังหวัดนครราชสีมา 30130
E-Mail: panglum_pp(at)hotmail.com , pooh13pang(at)gmail.com
การศึกษา:
ระดับประถมศึกษา: โรงเรียนประชานุสรณ์ จังหวัดนครราชสีมา
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: โรงเรียนประชานุสรณ์ จังหวัดนครราชสีมา
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย: โรงเรียนปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
ระดับปริญญาตรี: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รหัสประจำตัว: 51011213101
คณะ: คณะวิทยาการสารสนเทศ
วิทยาเขต: มหาสารคาม
หลักสูตร: 1124903 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ความสามารถด้านกิจกรรม:
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: ประธานนักเรียนโรงเรียนประชานุสรณ์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย: -รองประธานคณะสี
-รองหัวหน้าห้อง
ระดับปริญญาตรี: -Staff คณะวิทยาการสารสนเทศ
-Staff มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รางวัลที่ภูมิใจ:
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: ชนะเลิศการประกวดมารยาทไทยระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย:ประกาศนียบัตรนักเรียนผลการเรียนดีเยี่ยม
รับทุนนักเรียนความประพฤติดี จากพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

^^คณะวิทยาการสารสนเทศ^^

คณะวิทยาการสารสนเทศ ได้รับการจัดตั้งเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2544 โดยใช้ชื่อว่า "โครงการจัดตั้งคณะวิทยาการสารสนเทศ" มีบุคลากรในโครงการเริ่มแรกจำนวน 36 คน และได้มีมติจากการประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 4/2546 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2546 อนุมัติให้โครงการจัดตั้งคณะวิทยาการสารสนเทศ เปลี่ยนสถานะมาเป็นคณะวิทยาการสารสนเทศ เป็นคณะนอกระบบ
จนถึงปัจจุบัน มีนิสิตเมื่อเริ่มก่อตั้งโครงการรวมทั้งสิ้นจำนวน 893 คน จำแนกเป็น 4 หลักสูตรคือ
1. หลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS)
2. หลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาสารสนเทศศาสตร์ (IS)
3. หลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาการสื่อสารมวลชน (MC)
4. หลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ (LIS)
ในระยะเริ่มดำเนินงาน สำนักงานเลขานุการคณะวิทยาการสารสนเทศตั้งอยู่ ณ อาคารราชนครินทร์ ห้อง RN - 411 ชั้น 4 เป็นสำนักงาน ต่อมาในเดือนธันวาคม 2544 คณะวิทยาการสารสนเทศได้ย้ายจากที่ทำการชั่วคราว ห้อง RN – 411 ไปยังกลุ่มอาคารสำนักวิทยบริการ อาคารบี ชั้น 3 จนถึงปัจจุบัน

สามารถดาวโหลด ข้อมูลคณะวิทยาการสารสนเทศได้ที่นี่

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Guestbook

มีข้อความใดๆฝากถึงเราได้ตลอดเลยจร้า\\^_^//

น่ารักจัง


แป้ง_ICT_จร้า
สร้างกริตเตอร์
| ฟังเพลง | เล่นเกมส์ | ซื้อ-ขาย

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

><""แผนที่ปากช่อง


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

>>วิธีการป้องกันไข้หวัดใหญ่2009<<


การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ

หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
หากต้องดูแลผู้ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัย และให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัยด้วย หลังดูแลผู้ป่วยทุกครั้ง ควรรีบล้างมือด้วยน้ำ และสบู่ให้สะอาดทันที
ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง เมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือ เจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลัง ไอ จามม
รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งไข่ นม ผัก และผลไม้ ดื่มน้ำสะอาดและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงบุหรี่ และสุรา
การป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อ
หากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ควรหยุดงาน หยุดเรียน เป็นเวลา 3-7 วัน ซึ่งจะช่วยลดการแพร่ระบาดได้มาก
หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้อื่น
สวมหน้ากากอนามัย เมื่ออยู่กับผู้อื่น หรือใช้ทิชชู่ปิดจมูกทุกครั้งที่ไอ จาม ทิ้งทิชชู่ลงในถังขยะที่มีฝาปิด แล้วล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำ และสบู่

อาหารเหนือ==>น้ำพริกอ่อง


เครื่องปรุง
หมูสับละเอียด 3 ช้อนโต๊ะ พริกแห้งแช่น้ำ 5 เม็ด
ตะไคร้หั่นฝอย 1 ช้อนโต๊ะ หอมแดงซอย 3 ช้อนโต๊ะกระเทียม 5 กลีบ ถั่วเน่าชนิดแผ่นย่างไฝ 1 แผ่น มะเขือเทศผลเล็กชนิดเป็นพวง 1 ถ้วย กระเทียมสับ 3 กลีบผักชี 1 ต้น เกลือป่น 2 ช้อนชาน้ำ ½ ถ้วย น้ำมัน 2 ช้อนโต๊ะ ผักสด แตงกวา ถั่วฝักยาว กระถิน ถั่วพู ผักต้ม ถั่วฝักยาว มะเขือ ผักบุ้ง หัวปลี ยอดแค ดอกแค ฟักทอง ฟักเขียว
วิธีทำ
1. โขลกพริก ตะไคร้ และเกลือให้ละเอียด ใส่หอมแดง กระเทียม และถั่วเน่า โขลกให้เข้ากัน ใส่มะเขือเทศ โขลกเบาๆ ให้เข้ากับน้ำพริก ใส่หมู เคล้าให้เข้ากับน้ำพริก
2. ใส่น้ำมันลงในกระทะ ใส่กระเทียมสับ เจียวให้หอม ใส่น้ำพริกลงผัดให้ทั่ว ใช้ไฟอ่อน ผัดให้ขึ้นเงา ใส่น้ำ ผัดพอแห้ง และจิ้มติด ตักใส่ถ้วย โรยผักชี
3. เสิร์ฟกับผักสด และผักสุก
ที่มา** http://www.phangan.ac.th/homepage/nongor/n.htm

อาหารเหนือ==>ขนมจีนน้ำเงี้ยว


เครื่องปรุง
น้ำเงี้ยวหมูสับ 3 ขีด มะเขือเทศสีดา 5 ขีด (หั่นหนึ่งลูกสี่ชิ้น) น้ำพริกน้ำเงี้ยว 3 ขีด (โขลกพริกแกงน้ำเงี้ยวรวมกับหมูสับและมะเขือเทศสีดา) เนื้อหมูหรือซี่โครง 5 ขีด เลือดไก่ 2 ก้อน (หั่นเป็นก้อนสี่เหลื่ยมลูกเต๋านำไปลวกน้ำร้อน) เครื่องคู่ขนมเส้นขนมเส้น (ขนมจีน) 1 กิโล กระเทียมเจียวแคบหมูผักเคียง : หัวปลี, ถั่วงอก, ผักกาดดอง, ถั่วฟักยาว, กระหล่ำปลี และผักที่ชอบค่ะ
วิธีทำ
1. นำเครื่องแกงที่โขลกกับมะเขือเทศและหมูไปผัดกับน้ำมันให้หอม
2. นำเนื้อหมูหรือซี่โครงไปต้มจนเดือด
3. ใส่เครื่องแกงที่ผัดเรียบร้อยแล้วลงไปพอเดือด
4. ใส่เลือดไก่ลงไปในหม้อ เสร็จเรียบร้อยวิธีรับประทานจับขนมเส้นพอประมาณตามต้องการ ใส่ผักเคียง ราดน้ำเงี้ยว เติมกระเทียมเจียว ทานแกล้มกับแคบหมู
ที่มา** http://www.oknation.net/blog/print.php?id=140121

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ปฏิทิน

แนะนำตัวเอง


ชื่อ: นางสาวเบญจวรรณ อินทระ

ชื่ออังกฤษ: Miss Benjawan Intara

ชื่อเล่น : น้องแป้ง

รหัสประจำตัว: 51011213101

หมู่เลือด: B

เชื้อชาติ: ไทย

สัญชาติ: ไทย

ศาสนา: พุทธศาสนา

ที่อยู่ 19/1 ถ.เทศบาล16 ต.ปากช่อง

อำเภอ ปากช่อง นครราชสีมา 30130

จบการศึกษาจาก: โรงเรียนปากช่อง จ. นครราชสีมา

อ. ที่ปรึกษา: ผศ.อนิรุทธ์ โชติถนอม

การศึกษาปัจจุบัน

ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ระบบปกติ)

คณะวิทยาการสารสนเทศ

วิทยาเขต มหาสารคาม

มหาวิทยาลัย มหาสารคาม

หลักสูตร 1124903 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ปีการศึกษาที่เข้า 2551 / 1 วันที่ 2/6/2551

หอพัก : หอพักวาปีปทุม 427