มาเลี้ยงหนูแฮมส์เตอร์กันจ้า^^

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์



หมวดที่หนึ่ง ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
สำหรับบทบัญญัติในหมวดที่หนึ่ง มีทั้งสิ้น 11 มาตรา กล่าวคือตั้งแต่ร่างมาตรา 5 ถึงร่างมาตรา 15 ทั้งนี้ โดยตั้งแต่มาตรา 5 ถึงมาตรา 12 นั้น จะเป็นร่างบทบัญญัติที่กำหนดลักษณะการกระทำความผิดซึ่งกระทบโดยตรงต่อการรักษาความลับ(Confidentiality) , ความครบถ้วน (Integrity) , และสภาพพร้อมใช้งาน (Availability) ของระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลคอมพิวเตอร์ สำหรับการกระทำความผิดที่กระทบต่อการรักษาความลับ เช่น การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นซึ่งมีมาตรการป้องกันการเข้าถึงเอาไว้ (ร่างมาตรา 5) , การล่วงรู้มาตรการการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ (ตัวอย่างคือ การล่วงรู้รหัสผ่าน (Password) หรือรหัสลับ (secret code) เป็นต้น) (ร่างมาตรา 6) , การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น (ร่างมาตรา 7), หรือการดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ (ร่างมาตรา 8)
ส่วนการกระทำความผิดที่กระทบต่อความครบถ้วนของระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น ความครบถ้วนในที่นี้ หากกล่าวให้เข้าใจโดยง่ายหมายความว่า ในกรณีที่มีการป้อนหรือพิมพ์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ไว้เช่นใด โดยทั่วไปหากจะเรียกข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมาอ่าน เรียกดู หรือใช้ข้อมูลดังกล่าวอีกครั้ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อยู่หรือเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์นั้น ก็ควรจะแสดงบนจอคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลหรือข้อความที่ครบถ้วนเหมือนที่พิมพ์หรือป้อนไว้แต่เดิม ตัวอย่างการกระทำความผิดในลักษณะนี้ เช่น การรบกวนการทำงานของข้อมูลคอมพิวเตอร์ด้วยการทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์ (ร่างมาตรา9) เป็นต้น
ส่วนการกระทำความผิดที่กระทบต่อสภาพพร้อมใช้งานตามปกติของระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น การกระทำความผิดด้วยการป้อนชุดคำสั่งหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่พึงประสงค์ อาทิ “ไวรัส” ในคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานผิดเพี้ยนไปจากเดิมหรือไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ (ร่างมาตรา 10)
อย่างไรก็ตามในการกระทำความผิดอันเป็นการรบกวนระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ให้ทำงานหรือแสดงผลต่างไปจากเดิมหรือไม่เป็นไปตามปกตินั้น ร่างพระราชบัญญัติก็ได้มีการกำหนดโทษหนักขึ้นในกรณีที่มีเหตุฉกรรจ์ไว้ด้วย กล่าวคือ หากกระทำความผิดก่อให้เกิดผลอันเป็นความเสียหายแก่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือกระทบต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การบริการสาธารณะ หรือการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือการกระทำดังกล่าวก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือชีวิตของประชาชน ผู้กระทำผิดดังกล่าวก็ต้องรับโทษหนักขึ้น (ร่างมาตรา 11)
นอกจากนั้น ยังได้มีการกำหนดฐานความผิดสำหรับการจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดที่กล่าวมาข้างต้น เช่น การจงใจหรือเจตนาเผยแพร่ไวรัสที่ใช้ในการก่อให้เกิดความเสียหายหรือทำลายข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือชุดคำสั่งที่เรียกว่า spyware เพื่อไว้ใช้โจรกรรมความลับทางการค้า เป็นต้น (ร่างมาตรา 12)
ส่วนร่างพระราชบัญญัติตั้งแต่ร่างมาตรา 13 ถึงร่างมาตรา 15 นั้น จะเป็นลักษณะการกระทำความผิดที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบเพื่อกระทำความผิดในลักษณะต่างๆ เช่นการปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ , การเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จซึ่งก่อให้เกิดความตื่นตระหนกกับประชาชน , การเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันมีลักษณะลามก , การกระทำความผิดของผู้ให้บริการที่มิได้ลบข้อมูลคอมพิวเตอร์อันไม่เหมาะสม , และการตัดต่อภาพอันทำให้บุคคลอื่นเสียหาย เป็นต้น
หมวดที่สองพนักงานเจ้าหน้าที่
ร่างพระราชบัญญัติในส่วนนี้มี 13 มาตรา ตั้งแต่ร่างมาตรา 16 ถึงร่างมาตรา 28 โดยได้มีการกำหนดอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
คุณสมบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่
ร่างพระราชบัญญัติก็ได้กำหนดไว้ว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เหล่านั้นต้องมีคุณสมบัติพิเศษ กล่าวคือ มีความรู้ความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์และผ่านหลักสูตรอบรมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนด (ร่างมาตรา 26) เพื่อให้มีอำนาจตามที่ร่างกฎหมายกำหนด
อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่
ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัย พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เท่าที่จำเป็น, ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์จากระบบคอมพิวเตอร์ที่ต้องสงสัย , ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ , ถอดรหัสข้อมูลคอมพิวเตอร์ , เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ และยึดถือหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์ (ร่างมาตรา 16)
อย่างไรก็ตามการใช้อำนาจข้างต้น จะต้องกระทำเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดตามร่างพระราชบัญญัติเท่านั้น (ร่างมาตรา 18) เช่นการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ (ร่างมาตรา16(2)) นั้น ก็ทำได้เฉพาะที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำความผิดโดยกระทำความผิดโดยการรบกวนรูปแบบหนึ่งรูปแบบใดกับข้อมูลคอมพิวเตอร์ (ร่างมาตรา9) ก็ต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์เกินความจำเป็น (ร่างมาตรา 18 วรรคสอง)
การตรวจสอบการใช้อำนาจ
ในการยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์ที่ต้องสงสัยต้องมีหนังสือยึดหรืออายัดซึ่งทำตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงไปแสดง และจะยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์ได้ไม่เกิน 30 วัน หากเกินระยะเวลาที่กำหนดไว้ต้องไปยื่นคำร้องขอต่อศาลอาญาเพื่อขอขยายเวลาดังกล่าว โดยศาลจะอนุญาตได้ไม่เกิน 60 วัน
อย่างไรก็ตาม ในการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานในการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิด (ร่างมาตรา 16(3)) และการเรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์อันเป็นบันทึกการเข้าออกจากระบบของผู้ใช้บริการที่ผู้ให้บริการเก็บรักษาไว้อันเป็นหลักฐานสำคัญในการหาตัวผู้กระทำความผิด ซึ่งไม่ให้รวมถึงเนื้อหาของข้อมูลที่บุคคลติดต่อกัน (ร่างมาตรา 16 (5)) พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลในการดำเนินการ รายงานต่อศาลจังหวัดที่มีเขตอำนาจหรือศาลอาญาภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ ทั้งนี้ โดยศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะสั่งระงับการดำเนินการดังกล่าวได้ หากเห็นว่าเกินความจำเป็น (ร่างมาตรา 18 วรรคสาม)
อำนาจสั่งการเกี่ยวกับชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ (โปรแกรมชั่วร้าย)
เนื่องจากในปัจจุบันได้มีการพัฒนาชุดคำสั่งหรือโปรแกรมไม่พึงประสงค์มากมาย เช่น ไวรัส (virus) , เวิร์ม (worm), สปายแวร์ (spyware) , และมัลแวร์ (malware) อื่นๆ เป็นต้น ซึ่งชุดคำสั่งดังกล่าวจะมีการพัฒนาการที่มีการใช้งานซับซ้อนมาขึ้นตามพัฒนาการทางเทคโนโลยี ในขณะเดียวกันก็อาจนำไปใช้ทั้งในทางที่เป็นคุณและโทษอนันต์ด้วยเช่นกัน ซึ่งหากมีการนำไปใช้ในทางมิชอบอันก่อให้เกิดโทษ การจัดการกับปัญหาดังกล่าวก็จะยากมากยิ่งขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ ร่างพระราชบัญญัติจึงได้ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ รวมทั้งสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีชุดคำสั่งพึงประสงค์รวมอยู่ด้วยนั้นได้ หรืออาจกำหนดเงื่อนไขการใช้ มีไว้ครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งดังกล่าวด้วยก็ได้
อย่างไรก็ตาม ชุดคำสั่งพึงประสงค์นั้น ได้มีการพัฒนาให้สามารถนำไปใช้งานให้มีประสิทธิผล (พิษสง) ร่ายแรงขึ้น และบ่อยครั้งก็อาจเป็นการยากต่อการพัฒนาชุดคำสั่งที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้งานในเชิงสร้างสรรค์เพื่อต่อต้านหรือใช้ในการแก้ไขปัญหาเช่นว่านั้น ดังนั้น ร่างพระราชบัญญัติจึงได้เปิดกว้างให้มีการกำหนดว่าชุดคำสั่งใดบ้างที่มีลักษณะที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการให้ดำเนินการใดๆ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้นได้ แต่ในขณะเดียวกัน เนื่่่องจากชุดคำสั่งเหล่านั้น ก็อาจมีการนำไปใช้ในลักษณะที่เป็นคุณได้เช่นกัน ดังนั้น จึงได้มีการกำหนดข้อยกเว้นเอาไว้ด้วยเช่นกันว่า การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการสั่งการกับชุดคำสั่งพึงประสงค์หรือชั่วร้ายนั้นมิให้รวมถึงชุดคำสั่งที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อมุ่งประสงค์ให้นำไปใช้ในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งชั่งร้ายดังกล่าว โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีอำนาจในการประกาศว่า ชุดคำสั่งใดบ้างเป็นชุดคำสั่งที่ชั่วร้ายไว้ในกฎกระทรวง (ร่างมาตรา 19)
การควบคุมการใช้อำนาจและข้อห้ามมิให้เปิดเผยพยานหลักฐานที่ได้
่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายฉบับนี้ จะมีคุณสมบัติพิเศษและมีความสามารถที่มากกว่าพนักงานทั่วๆ ไป ในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลคอมพิวเตอร์ ในการเข้าใจกลไกและรูปแบบการกระทำความผิด และร่างพระราชบัญญัติก็ได้ให้อำนาจสำคัญกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อหาตัวผู้กระทำความผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (ร่างมาตรา 16(3)) อันอาจกระทบต่อความเป็นส่วนตัว ความลับในการติดต่อสื่อสาร หรือความลับทางการค้า อันเป็นสิทธิพึงมีของประชาชนได้โดยง่าย จึงจำเป็นต้องตรวจสอบการใช้อำนาจดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น และในขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องควบคุมการใช้อำนาจด้วย เพราะการมีอำนาจกระทำการใดๆ ก็ตามที่กำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติอาจเป็นที่มาของการอาศัยฝีมือของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติ ในการสืบสวนหรือรวบรวมพยานหลักฐานสำหรับการกระทำความผิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะมีการกระทำความผิดอื่นๆ นอกเหนือจากการกระทำความผิดที่กำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติ และเพื่อป้องกันมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจในทางมิชอบในประการอื่น
ดังนั้น ร่างพระราชบัญญัติจึงได้กำหนดห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ให้บริการที่ได้มาให้กับบุคคลใด (ร่างมาตรา 20 วรรคหนึ่ง) เว้นแต่เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีตามร่างพระราชบัญญัติ, การใช้อำนาจในทางมิชอบของพนักงานเจ้าหน้าที่, และการกระทำตามคำสั่งศาลในการพิจารณาคดี (ร่างมาตรา 20 วรรคสอง)
อย่างไรก็ตาม แม้มีกฎหมายอื่นให้อำนาจในการเรียกพยานหลักฐานหรือข้อมูลใดๆ ซึ่งมิใช่ข้อยกเว้นที่กล่าวไว้ในร่างมาตรา 20 วรรคสอง ร่างพระราชบัญญัตินี้ก็ห้ามมิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับ ด้วยร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ หากมีการใช้บังคับก็ถือเป็นกฎหมายพิเศษยิ่งกว่ากฎหมายอื่นใด (ร่างมาตรา 20 วรรคสาม) ทั้งนี้ โดยได้กำหนดโทษในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติข้างต้นเอาไว้ด้วย รวมถึงกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของร่างกฎหมายโดยประมาท (ร่างมาตรา 20 วรรคสี่ และร่างมาตรา 21 ตามลำดับ) นอกจากนั้น ก็ได้กำหนดระวางโทษสำหรับบุคคลซึงล่วงรู้ข้อมูลหรือพยานหลักฐานที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาและเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อบุคคลที่สามเอาไว้ด้วย (ร่างมาตรา 22) และก็ได้บัญญัติให้รับกันโดยกำหนดให้พยานหลักฐานที่ได้มาโดยฝ่าฝืนต่อหลักการควบคุมการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งกล่าวไว้ข้างต้น โดยมิให้รับฟังพยานหลักฐานเหล่านั้น ในการดำเนินการใดๆ อันเป็นโทษแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูล (ร่างมาตรา 23)
หน้าที่ของผู้ให้บริการในการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
เนื่องจากข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์เป็นพยานหลักฐานสำคัญในการหาตัวผู้กระทำความผิด ร่างพระราชบัญญัติจึงได้กำหนดให้ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่า 30 วัน และในกรณีที่จำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ก็อาจสั่งให้ผู้ให้บริการเก็บข้อมูลดังกล่าวไว้เกิน 30 วัน แต่ไม่เกิน 90 วันก็ได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้กฎหมายที่จะใช้บังคับมีความยืดหยุุ่่น ทันสมัย และสอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ร่างพระราชบัญญัติจึงได้กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กำหนดว่าผู้ให้บริการที่มีหน้าที่ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ข้างต้น ได้แก่ผู้ให้บริการประเภทใดและจะกำหนดให้ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เมื่อใด ให้เป็นไปตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติก็ได้กำหนดว่า หากผู้ให้บริการใดไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ซึ่งกำหนดไว้ ก็ต้องระวางโทษที่กำหนดไว้ อีกทั้งยังได้กำหนดว่า หากผู้ใดขีดขวางการปฏิบัติหน้าที่ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ อันรวมถึงอำนาจสั่งการเกี่ยวกับชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ (โปรแกรมชั่วร้าย) (ร่างมาตรา 16 และร่างมาตรา 19 ตามลำดับ) ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งปรับทางปกครอง (ร่างมาตรา 25)
การทำงานร่วมกันระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่ และพนักงานสอบสวน
ในร่างพระราชบัญญัติได้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีร่วมกับรัฐมนตรีรักษาการ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการดำเนินการในการจับ ควบคุม ค้น และสอบสวน (ร่างมาตรา 28)
จัดทำโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมทพิวเตอร์แห่งชาติ

สามารถโหลดข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

55+

Resume_pang




Resume


ชื่อ: นางสาวเบญจวรรณ อินทระ
ชื่ออังกฤษ: MissBenjawan Intara
วันเกิด: 13 พฤษภาคม 2532
13 May 1989
ที่อยู่: 19/1 ซอย 5 ถนนเทศบาล16 ตำบล ปากช่อง อำเภอ ปากช่อง
จังหวัดนครราชสีมา 30130
E-Mail: panglum_pp(at)hotmail.com , pooh13pang(at)gmail.com
การศึกษา:
ระดับประถมศึกษา: โรงเรียนประชานุสรณ์ จังหวัดนครราชสีมา
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: โรงเรียนประชานุสรณ์ จังหวัดนครราชสีมา
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย: โรงเรียนปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
ระดับปริญญาตรี: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รหัสประจำตัว: 51011213101
คณะ: คณะวิทยาการสารสนเทศ
วิทยาเขต: มหาสารคาม
หลักสูตร: 1124903 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ความสามารถด้านกิจกรรม:
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: ประธานนักเรียนโรงเรียนประชานุสรณ์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย: -รองประธานคณะสี
-รองหัวหน้าห้อง
ระดับปริญญาตรี: -Staff คณะวิทยาการสารสนเทศ
-Staff มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รางวัลที่ภูมิใจ:
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: ชนะเลิศการประกวดมารยาทไทยระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย:ประกาศนียบัตรนักเรียนผลการเรียนดีเยี่ยม
รับทุนนักเรียนความประพฤติดี จากพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

^^คณะวิทยาการสารสนเทศ^^

คณะวิทยาการสารสนเทศ ได้รับการจัดตั้งเป็นหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2544 โดยใช้ชื่อว่า "โครงการจัดตั้งคณะวิทยาการสารสนเทศ" มีบุคลากรในโครงการเริ่มแรกจำนวน 36 คน และได้มีมติจากการประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 4/2546 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2546 อนุมัติให้โครงการจัดตั้งคณะวิทยาการสารสนเทศ เปลี่ยนสถานะมาเป็นคณะวิทยาการสารสนเทศ เป็นคณะนอกระบบ
จนถึงปัจจุบัน มีนิสิตเมื่อเริ่มก่อตั้งโครงการรวมทั้งสิ้นจำนวน 893 คน จำแนกเป็น 4 หลักสูตรคือ
1. หลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS)
2. หลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาสารสนเทศศาสตร์ (IS)
3. หลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาการสื่อสารมวลชน (MC)
4. หลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ (LIS)
ในระยะเริ่มดำเนินงาน สำนักงานเลขานุการคณะวิทยาการสารสนเทศตั้งอยู่ ณ อาคารราชนครินทร์ ห้อง RN - 411 ชั้น 4 เป็นสำนักงาน ต่อมาในเดือนธันวาคม 2544 คณะวิทยาการสารสนเทศได้ย้ายจากที่ทำการชั่วคราว ห้อง RN – 411 ไปยังกลุ่มอาคารสำนักวิทยบริการ อาคารบี ชั้น 3 จนถึงปัจจุบัน

สามารถดาวโหลด ข้อมูลคณะวิทยาการสารสนเทศได้ที่นี่